วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

วิสาหกิจชุมชนกับการพัฒนาในประเทศ




ชื่อ      วิสาหกิจชุมชนบ้านบ่อมะกรูด หมู่ที่ ๗ ตำบลบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

 วัตถุประสงค์    1. เพื่อเกิดกลุ่มองค์กรที่มั่นคงในพื้นที่เดียวกัน วัฒนธรรม-ประเพณีเดียวกัน ชาติพันธุ์เดียวกัน
                     2. เพื่อจัดการวัตถุดิบในชุมชน แปรรูปผลผลิตให้เกิดคุณค่าเป็นสินค้าชุมชน
                     3. เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เป็นอาชีพหลักและอาชีพรองที่มั่นคง
                     4. เพื่อหลักการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

 วิสัยทัศน์ 
     "กินอิ่ม นอนอุ่น มีคุณธรรม มีการออม เกิดสวัสดิการ พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน"

 เป้าหมายหลัก   1. ประชาชนทุกคนในหมู่บ้านบ่อมะกรูด มีอาหารที่ทรงคุณค่ารับประทานทุกครอบครัว
   2. ประชาชนมีสุขพลานามัยสมบูรณ์ทุกครอบครัว
   3. ประชาชนในหมู่บ้านบ่อมะกรูดลดหนี้ มีสุข
   4. ประชากร 1,200 คนทำอาชีพประมงน้ำจืดเป็นและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด

 ตัวชี้วัดหมู่บ้าน            1.คนในบ้านบ่อมะกรูด มีความดี ความสุข และความสามารถ
            2.ชาวบ้านทุกครอบครัวมีความสามัคคีสมานฉันท์
            3.คนในหมู่บ้านปลอดจากอบายมุข สิ่งมอมเมา และยาเสพติด
            4.แกนนำฉลาด พาชาติเจริญ


ประชุมกลุ่มสมาชิก
                        

ประชุมกลุ่มสมาชิก เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2549 เพื่อ
   1. สร้างความเข้าใจ
   2. คัดเลือกคณะกรรมการ
   3. ดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาล
   4. ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติการ ร่วมรับผลประโยชน์ และการประเมินผล
   5. ประสานเครือข่ายวิสาหกิจทั้งประเทศ
   6. พัฒนาสินค้าชุมชน/ตลาดชุมชน
   7. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่น

                                                  

                                                          นายธัมมสัญญ์ อุ่มเอิบ                                                            ประธานคณะกรรมการ

                                          รายชื่อคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนบ้านบ่อมะกรูด

                                                                 ..................
1. นายธัมมสัญญ์ อุ่มเอิบ                   ประธานกรรมการ
2. นายทองสุข ลาลาด                        กรรมการ
3. นางหทัยรัตน์ อุ่มเอิบ                      กรรมการ
4.นางสวรินทร์ กูดเพตรา                    กรรมการ
5. นางบุญธรรม เพ็งพิน                       กรรมการ
6.นายวินัย คงนะภา                             กรรมการ
7.นางน้ำอ้อย เพียรวัฒนผล                กรรมการ

รายชื่อสมาชิก

8. นายมัด ชานาง                                สมาชิก
9. นายลักษณ์ สีบุปผา                       สมาชิก
10.นายหลุ่ย พระจันทร์                       สมาชิก
11.นางใช้ นาคนงค์                             สมาชิก
12.นางอรวรรณ เทียมทนงค์              สมาชิก
13.นางสุนิสา สิงคะสะ                        สมาชิก
14.นางอุไร สรูแป้น                            สมาชิก
15.นายสมาน สิงขะสะ                        สมาชิก
16.นายอำพร โสภา                             สมาชิก
17.นางรวม บุตรเกษ                           สมาชิก
18.นางฉลวย นาคกร                          สมาชิก
19.นางขวัญเมือง แก้วขวัญ                สมาชิก
20.นางด้วง การะเกตุ                          สมาชิก
21.นางเสา ใจบุญ                                สมาชิก
22.นางติ่ง กูดเพตรา                            สมาชิก
23.นายสุทิน ดีวิหก                              สมาชิก
24.นางกัญญา อนุเครือ                       สมาชิก
25.นางสวรินทร์ กูดเพตรา                   สมาชิก
26.นางบุญธรรม เพ็งพิน                      สมาชิก
27.จสอ.ดินันท์ วสุรักขะ                       สมาชิก
28.นายสุรินทร์ ชัยศักดานุกูล              สมาชิก
29.นางจี้ โสภา                                      สมาชิก
30.นายโอภาส ชุนเกษา                       สมาชิก
31.นายวจี ศรีคุณ                                  สมาชิก
32.นายสุวรรณ ศรีนาค                         สมาชิก
33.นายล้วน ลาลาด                              สมาชิก
34.นางไทย อุ่มเอิบ                              สมาชิก
35.นางวันเพ็ญ ลาลาด                         สมาชิก
36.นางบุญช่วย เตียงเกตุ                      สมาชิก
37.นายเลิศ จันทร์ทอง                         สมาชิก
38.นางอ่ำ อุ่มเอิบ                                  สมาชิก
39.นางสาวเรไร ชุนเกษา                      สมาชิก
40.นางหนูเจียม ชานาง                         สมาชิก

วิธีการผลิตปลาร้าปลอดสารวิสาหกิจชุมชนบ้านบ่อมะกรูด
ข้อมูลวันที่ 01/11/52


ขั้นตอนที่ 1. ปลาซึ่งเป็นวัตถุดิบชุมชน สดจากบ่อ และต้องไม่น๊อกตายก่อน เพราะจะทำให้ไม่สด


ขั้นตอนที่ 2 สมาชิกในกลุ่มต้องช่วยกันถอดเกล็ด ตัดหัว ทำความสะอาด


ขั้นตอนที่ 3 สมาชิกนำปลาไปช่วยกันที่บ้านของกลุ่มสมาชิก


ขั้นตอนที่ 4 นำปลามาคั้นเข้าเกลืออย่างทั่วถึงและสะอาดสุดๆ


ขั้นตอนที่ 5 หมักด้วยเกลือ 1คืน ด้วยการปกปิดมิดชิด กันแมลงวันและแมลงอื่นอย่างเด็ดขาด



ขั้นตอนที่ 6 หมักด้วยเกลือหนึ่งคืนแล้ว วันรุ่งขึ้นใส่ข้าวคั่วอย่างพอเพียงและทั่วถึง



ขั้นตอนสุดท้ายที่ 7 หมักเก็บในถัง 200 ลิตร ประมาณ 5 เดือนเต็ม ก็จะได้ปลาร้าปลอดสารอย่างเข้มข้น
- ปลาเนื้อเหนียวนุ่ม
- กลิ่นหอมน่ารับประทาน
- สะอาดปลอดภัยจากสารทุกชนิด
- ราคาไม่แพง
- วัตถุดิบในชุมชน
- เป็นสินค้าเกิดจากการรวมตัวของคนกลุ่มเดียวกันจัดการวัตถุดิบในชุมชนให้มีคุณค่า แล้วพัฒนาเป็นสินค้าหมู่บ้านแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาสในชุมชน

ปัญหาอุปสรรควิสาหกิจชุมชนบ้านบ่อมะกรูด

๑.วัตถุดิบในชุมชนไม่เพียงพอ ทำให้ต้องเดินทางไปซื้ออำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และตลาดมหาชัย ทำให้เกิดราคาปลาที่เป็นผลผลิตเพิ่มขึ้น
๒. กลไกปลาในท้องตลาดไม่นิ่งตลอด จึงไม่สามารถปรับราคาขึ้น-ลงได้เป็นมาตรฐาน
๓. เนื่องจากตลาดรับซื้อเป็นตลาดในหมู่บ้าน ตำบลใกล้เคียง เพื่อแบ่งปัน เอื้อเฟื้อ จึงทำให้สินค้ามีราคาไม่สูงจนเกินไป ผลผลิตออกน้อย รายได้จึงน้อย เป็นอาชีพหลักไม่ได้
๔.ทุนในการลงทุน แปรรูปผลผลิต การจัดการ และดำเนินการมีน้อย ไม่ต่อเนื่อง
๕.ชาวบ้านมีรายได้น้อย จึงนิยมใช้อาหารถุงเป็นหลัก ถึงอาหารถุงมีราคาถูกแต่ก็ไม่เพียงพอครอบครัวก็ตาม เพราะชาวบ้านต้องประหยัด ไม่ทำกับข้าวกินเอง
๖.ปลาร้าปลอดสารแปรรูป ใช้เวลา๕-๖เดือน จึงใช้เวลานานเกินไป
๗.ไม่พัฒนาหีบห่อให้สวยงามตามกลไกตลาดนอกชุมชน
๘.ภาคีพี่เลี้ยงไม่หนุนเสริม ส่งเสริม สนับสนุนอย่างที่ควรจะเป็น เพื่อสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐบาล

แนวทางความต้องการและแผนการแก้ไขปัญหา

๑. ส่งเสริมการเลี้ยงปลากินพืช ปลานิล ปลาตะเพียน ในชุมชนให้แพร่หลาย และถูกวิธีการเลี้ยง แบบจริงจังและเข้มข้น
๒. กลุ่มเป็นผู้รับซื้อปลาในชุมชน โดยรับประกันราคา เพื่อป้องกันวัตถุดิบถูกนำออกไปขายภายนอก
๓.ส่งเสริมให้เป็นอาชีพหลักด้วยโดยใช้ผลผลิต ผนวกความต้องการ หรือดีมานด์-ซัพพลาย
๔. เทศบาลตำบลบ้านฆ้อง เป็นเจ้าภาพสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจ จนสามารถพื่งพาตนเองได้ ด้วยการสนับสนุนงบประมาณ ในการผลิตวัตถุดิบให้มีคุณค่า 
๕.พัฒนาเพิ่มศักยภาพกลุ่ม ให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน มีประสบการณ์ เป็นกำลังหลักพัฒนาหมู่บ้านให้เข้มแข็ง
๖.เทศบาลบ้านฆ้อง ในฐานะเป็นผู้บริหารท้องถิ่น ควรใช้หลักธรรมาภิบาล คือเกิดการมีส่วนร่วม เกิดความยุติธรรม ประสานงานให้ชุมชนอยู่ดีกินดี และความโปร่งใส ในการบริหารควรควบคู่ไปกับ กลุ่มคนส่วนมาก และกลุ่มคนส่วนน้อย เพราะจะทำให้ขบวนชาวบ้านมีทางออก ทางที่มีแสงสว่าง หลุดพ้นจากความทุกข์ หน้าที่หลักของเทศบาลบ้านฆ้องคือ ทำอย่างไรให้ชาวบ้านมีความดี มีความสุข และความสามารถ เมื่อผู้บริหารมีสิ่งเหล่านี้แล้ว ท่านจะประสบความสำเร็จอย่างมาก 

                  
วันที่ 28 สิงหาคม 2552
นายชาญยุทธ์ ภาณุทัต ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุม
ชน กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดการสัมมนาจัดทำแผนแม่บทวิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี
เพื่อเสริมศักยภาพลดรายจ่าย สนับสนุนใช้วัตถุดิบในชุมชน เพิ่มผลผลิต ถ่ายทอดความรู้ที่
ประสบผลสำเร็จ พัฒนากระบวนการ ซึ่งสรุปวิธีการพัฒนาคือ ศึกษาดูงาน ระดมหุ้น ประ
ชุมกลุ่ม จัดทำระเบียบข้อบังคับ พร้อมกับเชื่อมโยงเครือข่าย ซึ่งผู้เข้าร่วมนั้นเป็นกลุ่มผ่าน
การประเมินระดับปานกลางและระดับดี มีวิทยากรประกอบด้วยนายทศพล แก้วทิมา ผจก.
เวสเทิร์นนิวส์ ดร.อุษา เทียนทอง และคณะ คณะสัมมนาได้รับการอำนวยความสะดวกจาก
สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรีเป็นอย่างดี เป็นพี่เลี้ยงเพื่อให้วิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี
มีการรวมกลุ่มจัดการกับวัตถุดิบในชุมชนให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นเพื่อลดรายจ่ายขยายเครือข่าย
พึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อหลวง เป็นการสัมมนาที่คุ้มค่างบ
ประมาณเนื่องจากการเกิดจุดประกายทำให้แผนการขับเคลื่อนสัมฤทธิ์ผลสูงสุด เมื่อวันที่28
สิงหาคม 2552 ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ อ.เมือง จ.ราชบุรี

                      


วันที่ 26-27 สิงหาคม 2552
นางพิศมัย สัตยาวิบูล เกษตรจังหวัดราชบุรี เปิดการสัมมนาอนุกรรมการส่งเสริม
วิสาหกิจอำเภอ ทั้ง 10 อำเภอจังหวัดราชบุรีเพื่อถอดบทเรียนงานวิสาหกิจในรอบ
ปีที่ผ่านมา โดยมี ดร.อุษา เทียนทอง อาจารย์สถาบันกศน.ภาคกลางเป็นทีมวิทยา
กร ซึ่งก็มี ผอ.ธนวิทยา ต้นสำลี ผอ.กศน.อำเภอสวนผึ้งเป็นที่ปรึกษา ซึ่งบทเรียน
ในวันแรกคือการแบ่งกลุ่มอำเภอถอดองค์ความรู้ 3 เรื่องคือ
1.วิสาหกิจชุมชนก่อนมี พ.ร.บ.และหลังการใช้พ.ร.บ.
2.ในฐานะที่ท่านเป็นคณะอนุกรรมการท่านส่งเสริม สนับสนุน และการประสานงาน
ในองค์กรอย่างไร
3.ท่านอนุกรรมการเรียนรู้การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนอย่างไร
ในการถอดบทเรียนนั้น ผู้สื่อข่าวสื่อชุมชนรายงานว่า มีคณะอนุกรรมการนำเสนอ
อย่างเผ็ดร้อน เพราะเป็นการนำวิสาหกิจชุมชนเป็นการปฏิบัติการจริงจังเข้าสู่วิถี
ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการนำสินค้าชุมชนยกระดับสู่สินค้าที่ได้มาตรฐาน มี
ราคาเพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายขยายเครือข่ายสู่การยอมรับจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค
เพิ่มราคาวัตถุดิบในชุมชนให้มีค่า มีแผนการใช้จ่าย มีการจัดการ มีขบวนการ ที่
มีพลัง เป้นการสัมมนาวันแรกที่ผู้สื่อข่าวแกะข่าวสู่ท่านผู้ชม และก็ นายธัมมสัญญ์
อุ่มเอิบ ประธานอนุกรรมการวิสาหกิจชุมชนอำเภอโพธาราม ที่นำเสนอภาพรวม
ของอำเภอได้อย่างเข้มข้น และยังมีคิวนำเสนอในวันรุ่งขึ้น 27/8/52 อีกโปรดติด
ตามชมอย่ากระพริบตาเมื่อ26-27 สิงหาคม 2552 ณ ห้องประชุมสำนักยุทธศาสตร์
และบูรณาการการศึกษาราชบุรี

                         
ข่าววิสาหกิจชุมชน สำนักงานเกษตรอำเภอโพธาราม ..หัวหน้าสุภาพร
บุญประเสริฐ เกษตรอำเภอ ได้รับมอบหมายจากเกษตรจังหวัดราชบุรี
คัดสรรเลือกตั้งคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนจำนวน 40 วิสาหกิจที่จด
ทะเบียนถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชน ซึ่งตามระเบียบจะ
ต้องให้เสร็จสิ้นก่อน 25สิงหาคม2549 จึงมีผู้ลงสมัครหลายท่านเพราะ
ต้องการไปทำหน้าที่ตัวแทน กลุ่มวิสาหกิจ ผลการเลือกตั้งเป็นไปด้วย
ความตื่นเต้นเนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์ระดับ "ภูมิปัญญาทั้งนั้น" ผู้
ที่ได้รับคะแนนท่วมท้นคือ นายธัมมสัญญ์ อุ่มเอิบ ตัวแทนจากกลุ่มหมู่
บ้านบ่อมะกรูด ชื่อ"กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านบ่อมะกรูด" เป็นประธานระ
ดับอำเภอโพธาราม รายละเอียดคลิ๊กอ่านด้านในภาพที่2คณะกรรมการ
จากการเลือกตั้ง 21ส.ค.49 ณ สำนักงานเกษตรอำเภอโพธาราม:ICT.

                      

ข่าวเกษตรจังหวัดราชบุรีเคลื่อนที่ กลุ่มแม่บ้านปลาร้าปลอดสารบ้านบ่อมะกรูด
เดินทางร่วมกิจกรรมเกษตรจังหวัดราชบุรีเคลื่อนที่ โดยได้นำปลาร้าปลอดสาร
ที่มีความอร่อย ปลอดกลิ่น ถูกหลักอนามัย ของบ้านบ่อมะกรูด ไปจำหน่ายให้
กับผู้ร่วมงาน ผลปรากฎว่า ได้รับความนิยมเกินคาด จึงขายหมดในเวลาอันรวด
เร็วประมาณ 30 กก.แม่บ้านจึงนำปลาร้าสับ ที่บรรจุมาเรียบร้อยออกมา เรียบ
ร้อยในเวลารวดเร็วทางกลุ่มจึงนำผักปลอดสารมาแกงเลียง ผลขายได้ 3 หม้อ
ได้เงินกลับชุมชน 4,000กว่าบาท ขณะลงข่าวยังแบ่งเงินกันไม่เสร็จ มีแต่ราย
ได้เข้าชุมชนทุกวัน เมื่อ 10 ส.ค.49 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี

                     

แผนแม่บทชุมชนศูนย์บ้านฆ้อง ติดตามผลประมงแก้จน
ศูนย์บ้านฆ้อง เร่งรัดปฏิบัติการแก้จนโดยให้เกษตรอำเภอ ประมงอำเภอ ประมง
อาสา หมอดินอาสา ในอำเภอโพธาราม ให้ตรวจเยี่ยมโครงการเลี้ยงปลาเกษตร
ซึ่งเลี้ยงปลาดุกอุยบนพลาสติกว่ามีความก้าวหน้าไปถึงจุดที่คาดหวังหรือไม่นาย
ธัมมสัญญ์ อุ่มเอิบ ประมงอาสาอำเภอโพธาราม ออกตรวจเยี่ยม กลุ่มตำบลบ้าน
สิงห์ หมู่ที่12ได้รับการต้อนรับจากนางจำปา ฮวดมา ประธานวิสาหกิจชุมชนตำ
บลบ้านสิงห์และ นายถาด ฮวดมาหมอดินอาสาตำบลบ้านสิงห์ คุณเสรี มุ่งเมือง
เกษตรตำบลบ้านสิงห์นำพบกลุ่มเกษตรแก้จนเมื่อ8ส.ค.49 ณ ต.บ้านสิงห์ ม.12


แผนแม่บทชุมชนศูนย์บ้านฆ้อง-แผนฯศูนย์บางโตนด
ได้รับอนุเคราะห์พันธ์ุปลาดุกอุยจากสำนักงานเกษตรอำเภอโพธาราม โดย
หัวหน้าสุภาพร บุญประเสริฐ และประมงอำเภอโพธาราม หัวหน้ากาญจนา
ขาวสะอาด เพื่อสนับสนุนแผนแม่บทชุมชนขับเคลื่อนแผนงานสู่การปฏิบัติ
เกษตรพอเพียงพึ่งตนเองของชาวแผนแม่บทชุมชนในเขตอำเภอโพธาราม
ซึ่งจะทำให้การเลี้ยงปลาดุกเป็นไปอย่างมีคุณภาพเลี้ยงง่าย โตไวรายได้มี
ประจำเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนฉบับมีส่วนร่วมระหว่างภาคประชา
ชนและภาครัฐ ร่วมคิด-ร่วมทำ เพื่อความยั่งยืนของอาชีพเสริมอาชีพหลัก
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ณ บ่อปลาประมงอาสาบ้านบ่อมะกรูด

                       

                วิถีชีวิตพอเพียงบ้านบ่อมะกรูด ร่วมงาน เศรษฐกิจพอเพียง
                หนทางในการส่งเสริมและการพัฒนาน้อมนำไปสู่การปฏิบัติ

                       


บ้านบ่อมะกรูดในฐานะเป็นชุมชนที่มีการเกษตรเป็นอาชีพหลัก และมีวิถีชีวิต
แบบพอเพียง และ ยั่งยืนแบบพึ่งตนเอง ร่วมงานโครงการกับทางมหาวิทยาลัย
ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ในโครงการ เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ
ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถูกต้อง เพื่อนำองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือทางสายกลาง /พอประมาณ
มีเหตุผล/มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ซึ่งทางบ้านบ่อมะกรูดได้น้อมนำมาปฏิบัติ โดย
ตลอด และ ในงานนี้ทางกลุ่มแม่บ้านได้รับเชิญไปออกร้าน วิถีพอเพียง ซึ่งมี
นางหทัยรัตน์ อุ่มเอิบ ประธานกลุ่มแม่บ้านประสานพลังต่อสู้เพื่อเอาชนะความ
ยากจนบ้านบ่อมะกรูด นำปลาอบแห้งพลังแสงอาทิตย์ ปลาร้าปลอดสาร แกง
ส้มและแกงเลียง ปลาร้าสับปลาร้าทรงเครื่องและไข่เค็ม ขนมอบกรอบที่มีชื่อ
ซึ่งผลิตโดย นางจำปา ฮวดมา กลุ่มแม่บ้านการเกษตรบ้านสิงห์ นำมาร่วม จน
ขายดิขายดี เป็นเทน้ำ เทท่า และ จัดนิทรรศการกิจกรรมชุมชนที่หลากหลาย
มาร่วมงานนี้อย่างเต็มที่ เมื่อ 19-21 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัย'จอมบึง 




วันที่ 10 กรกฎาคม 2552
นางสาวสุภาพร บุญประเสริฐ เกษตรอำเภอโพธาราม นายมงคล เกตุพันธ์
ผช.สาธารณสุขอำเภอ นางกาญจนา ขาวสะอาด ประมงอำเภอโพธาราม
นายธัมมสัญญ์ อุ่มเอิบ ประธานอนุกรรมการวิสาหกิจอำเภอโพธาราม นาง
จำปา ฮวดมา กรรมการ นายทองเจือ วงศ์แก้ว กรรมการอ.กิตติ เกิดทอง
ตัวแทนเลขานุการ นางสาวนิลุบล มหาทรัพย์สกุล ผช.ธนาคารออมสิน นาย
ณรงค์ พุ่มพวง ตัวแทนสหกรณ์จังหวัดราชบุรี นายวินัย คงนะภา วิสาหกิจ
บ้านบ่อมะกรูด นางสาวบุญสม งามเนตร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำ
นาญการ เป็นอนุเลขานุการ เพื่อประชุมมาตรฐานกลุ่มวิสาหกิจ เพื่อนำผล
การประเมินจัดเป็นงานมาตรฐานยกระดับวิสาหกิจเข้าสู่กลุ่มทุนดอกเบี้ยต่ำ
โดยได้นำสถานการณ์ผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นวัตถุดิบในชุมชน รายได้แบ่งปันในชุม
ชน ด้วยความมุ่งมั่นของกลุ่มวิสาหกิจ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ได้ส่งเสริมและ
สนับสนุนเต็มรูปแบบ โดยให้ สำนักข่าวสื่อชุมชนแห่งชาติ ถ่ายทำสารคดีที่
มีการผลิต การแปรรูป ความเป็นมา รูปแบบความเข้มแข็ง ที่อยู่ของผลิต
ภัณฑ์ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบและแบ่งปันประสบการณ์อย่างเด่นชัด และ
การยอมรับของตลาด เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2552 ณ สนง.เกษตรอำเภอ
โพธาราม